วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่3 อาหารและโภชนาการ

อาหารและโภชนาการ

      อาหาร หมายถึงสสารใดๆ[1] ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ อาทิ คาร์โบไฮเดรต ไขมันโปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต
ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบรรษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด
สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร
สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย"
อาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันประกอบด้วย อาหารหลัก หมู่ คือการ จัดอาหารทุกชนิดที่คนไทยบริโภคเป็นประจำออกเป็นหมวดหมู่   เป็นการจัดที่มีมานานแล้วโดยใช้ คำว่า อาหารหลักหมู่ของคนไทย แต่ในที่นี้จะเรียกว่า อาหารหลัก หมู่


แหล่งอาหาร

อาหารอื่นซึ่งมิได้มาจากพืชหรือสัตว์ มีทั้งเห็ดราที่รับประทานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็ด เห็ดราและแบคทีเรียในบรรยากาศถูกใช้ในการเตรียมอาหารหมักหรือดอง เช่น ขนมปังมีเชื้อ (leavened bread), เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เนยแข็ง, อาหารดอง, คมบุชะ (kombucha) และโยเกิร์ต อีกตัวอย่างหนึ่งคือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน อาทิ สไปรูไลนาสสารอนินทรีย์เช่น เบกกิงโซดาและครีมทาร์ทาร์ (โพแทสเซียมไบทาร์เทรต) ยังถูกใช้ทางเคมีเพื่อเป็นส่วนประกอบอาหารอีกด้วย

พืช

พืชหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชหลายชนิดรับประทานเป็นอาหาร มีพืชที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเป็นอาหารราว 2,000 ชนิด และพืชหลายชนิดมีหลายพันธุ์ปลูก (cultivar) ที่แตกต่างกัน
เมล็ดพืชเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย เพราะเมล็ดมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรกของพืช ซึ่งมีทั้งไขมันที่มีประโยชน์ อย่างกรดไขมันโอเมกา-3 อันที่จริงแล้ว อาหารส่วนใหญ่ที่มนุษย์บริโภคนั้นเป็นเมล็ดพืชอยู่แล้ว เมล็ดพืชที่รับประทานได้นั้น มีทั้งธัญพืช (ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าว เป็นต้น), ถั่ว(ถั่วฝัก ถั่วฝักเมล็ดกลม ถั่วเมล็ดแบน เป็นต้น) และผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดน้ำมันมักนำไปคั้นเอาน้ำมัน เช่น ดอกทานตะวัน ลินิน ผักกาดก้านขาว (รวมทั้งน้ำมันคาโนลา)งา เป็นต้น
เมล็ดพืชมีปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวสูงมาก และถูกมองว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ แม้จะไม่ใช่เมล็ดพืชทุกชนิดที่รับประทานได้ เมล็ดพืชขนาดใหญ่ เช่น เมล็ดมะนาว อาจก่อให้เกิดอาการหอบได้ ขณะที่เมล็ดแอปเปิลและเชอร์รีมีพิษ (ไซยาไนด์)
ผลไม้เป็นรังไข่ของพืชที่สุกแล้ว รวมทั้งเมล็ดที่อยู่ข้างใน พืชจำนวนมากมีผลไม้วิวัฒนาแล้วซึ่งมีลักษณะดึงดูดเป็นแหล่งอาหารแก่สัตว์ เพื่อที่ว่าสัตว์จะได้กินผลไม้นั้นและขับถ่ายเอาเมล็ดพืชไกลออกไป ดังนั้น ผลไม้จึงเป็นส่วนสำคัญในอาหารหลายวัฒนธรรม ผลไม้สวนครัว อย่างมะเขือเทศ มะละกอ และมะเขือ กินเหมือนผัก
ผักเป็นพืชประเภทที่สองที่รับประทานเป็นอาหารโดยทั่วไป ซึ่งรวมทั้งผักกินหัว (มันฝรั่งและแครอท) ผักกินใบ (ผักขมและผักกาดหอม) ผักต้น (หน่อไม้และหน่อไม้ฝรั่ง) และผักช่อ (อาร์ทิโชกและบรอกโคลี)

สัตว์

สัตว์ใช้เป็นอาหารไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านผลิตภัณฑ์ของสัตว์ เนื้อเป็นตัวอย่างหนึ่งของผลิตภัณฑ์โดยตรงที่นำมาจากสัตว์ ซึ่งมาจากระบบกล้ามเนื้อหรือจากอวัยวะ ผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตจากสัตว์มีทั้งนมที่ผลิตจากต่อมน้ำนม ซึ่งในหลายวัฒนธรรมมีการดื่มหรือผ่านกระบวนการเป็นผลิตภัณฑ์นม (เนยแข็ง เนยเป็นต้น) นอกเหนือจากนี้ นกหรือสัตว์อื่นวางไข่ ซึ่งมักนำมาเป็นอาหาร และผึ้งผลิตน้ำผึ้งจากน้ำต้อยของดอกไม้ ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่ได้รับความนิยมในหลายวัฒนธรรม บางวัฒนธรรมบริโภคเลือด บางครั้งในรูปของไส้กรอกเลือด โดยเป็นสารเพิ่มความเข้มข้นของซอส หรือแช่เกลือกินในเวลาที่ขาดแคลนอาหาร และมีการใช้เลือดในสตู เช่น ชะมด
บางวัฒนธรรมและคนไม่บริโภคเนื้อหรือผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม อาหาร สุขภาพ เชื้อชาติ หรืออุดมการณ์ มังสวิรัติไม่บริโภคเนื้อ คือ อาหารใด ๆ ซึ่งเป็นหรือประกอบด้วยส่วนประกอบอาหารจากสัตว์

โภชนาการ


โภชนาการและปัญหาด้านอาหาร

ระหว่างสุขภาพสมบูรณ์ (optimal health) กับการเสียชีวิตเนื่องจากการอดอยากหรือทุพโภชนาการอันแตกต่างกันสุดขั้วนั้น ยังมีโรคหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นหรือบรรเทาได้ดวยการเปลี่ยนอาหารที่รับประทานเข้าสู่ร่างกาย การขาดอาหาร การบริโภคอาหารเกิน และความไม่สมดุลในอาหารอาจมีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอย่างลักปิดลักเปิด อ้วน หรือกระดูกพรุน เช่นเดียวกับปัญหาด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม ศาสตร์แห่งโภชนาการพยายามทำความเข้าใจว่า ลักษณะอาหารมีอิทธิพลต่อสุขภาพอย่างไรและด้วยเหตุใด
สารอาหารในอาหารถูกจัดกลุ่มเป็นหลายหมวด สารอาหารมหธาตุ (macronutrient) มีไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจุลธาตุ (micronutrient) มีแร่ธาตุและวิตามิน นอกเหนือจากนั้น อาหารยังรวมไปถึงน้ำและใยอาหาร
ร่างกายซึ่งถูกออกแบบมาโดยการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ให้พึงพอใจกับรสหวานและอาหารไขมันสูงด้วยอาหารวิวัฒนาการ ซึ่งเป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบสำหรับนักล่าและนักเก็บเกี่ยว ดังนั้น อาหารหวานและไขมันสูงในธรรมชาติจึงพบได้ยากและน่าพึงพอใจที่จะกินมาก แต่ในสมัยใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น อาหารที่น่าพึงพอใจนี้จึงง่ายแก่การเข้าถึงของผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก็ก่อให้เกิดโรคอ้วนเช่นกัน
โภชนาการ คือ วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสารอาหารต่างๆ เมื่อรับประทานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ คือ ถูกย่อย จาก ปาก กระเพาะอาหาร ลำไส้ มีการเผาผลาญและดูดซึมไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยสร้างเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เก็บอาหารไว้ใช้เมื่อขาดแคลน และเมื่อเหลือใช้แล้วจะปลดปล่อยส่วนที่ใช้ไม่ได้ออกมาเป็นกากอาหาร
2.  ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร  จงเปรียบเทียบลักษณะของผู้มีภาวะโภชนาการที่ดีและไม่ดี
 ภาวะโภชนาการ (nutritional status)  หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2  ลักษณะ  ดังนี้               
1.  ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่
2.  ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น ลักษณะ ดังนี้
          2.1  ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency)  หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ  เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
          2.2   ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis Aและ D)
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น